Creative Minds STEM Contest #1

Creative Minds STEM Contest #1

Creative Minds STEM Contest #1 เป็นโครงการการแข่งขันนวัตกรรมสามมิติสะเต็มศึกษา ที่ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สำหรับการดำเนินงานทางด้านสะเต็มศึกษาเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาครู นักเรียน/นักศึกษา ของสถานศึกษาสายสามัญ และสายอาชีพในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการซึ่งเป็นการสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล โดยการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษา มจพ. (KMUTNB STEM Education) มุ่งเน้น 3 ทิศทาง ได้แก่ 1) หุ่นยนต์ (Robots) 2) อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of things) หรือ IoT และ 3) วิทยาศาสตร์ (Science) ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบ STEM จึงได้ทำการบูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีเครื่องพิพม์พลาสติกสามมิติ การเขียนโปรแกรมแบบบล็อค และฝึกทักษะด้านวิศวกรรมจากแผงวงจรไมโครคอลโทรลเลอร์ Micro:bit เพื่อก้าวสู่ความเป็นนักประดิษฐ์ในอนาคต

KMUTNB STEM Education มุ่งเน้นและส่งเสริมโดยครอบคลุม 3 ด้าน
1) ด้านปัญญา ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาและเชื่อมโยงกับการปฏิบัติจริงพร้อมการฝึกทักษะภาคปฏิบัติ
2) ด้านความคิด ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ และ
3) ด้านคุณลักษณะ ผู้เรียนมีทักษะการทำงานเป็นทีม มีทักษะการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้

Creative Minds STEM Contest#1ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขันทุกคน ในทีม (ทีมละ 3 คน) จะต้องสอบผ่านการอบรมและได้รับใบ e-certificate เรื่องสนุกกับวิทยาการคำนวณด้วยโปรแกรมแบบบล็อก จากเว็บไซต์ https://mooc.kmutnb.ac.th/ และส่งใบ e-certificate ของสมาชิกในทีมทั้ง 3 คนมาที่ อีเมล สะเต็มศึกษา มจพ. หลังจากนั้นทางคณะผู้จัดงานจะทำการประกาศผลทีมที่ผ่านเข้ารอบ
     สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบ จะต้องเข้าร่วมการอบรมที่ ศุนย์สะเต็มศึกษา มจพ เป็นเวลา 3 วัน โดยมีกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบด้วย การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ไฟฟ้า-กลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การออกแบบ 3D model การสั่งพิมพ์วัตถุผ่านเครื่องพิมพ์สามมิติ การต่อวงจรไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ และทักษะการโค้ดดิ้งแบบบล็อคด้วย MicroBit เพื่อที่ผู้เข้าอบรมจะได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ในการประกอบหุ่นยนต์ขับเคลื่อนตามการควบคุมด้วยคลื่นวิทยุระหว่างบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ วันที่สี่ แต่ละทีมจะดำเนินการประดิษฐ์และทดสอบประสิทธิภาพหุ่นยนต์ขับเคลื่อนตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย และวันที่ห้า เป็นวันการแข่งขันแบบเก็บคะแนนทุกทีมพบกันหมด

วิทยากร
ดร.ดนุชา ประเสริฐสม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสรตร์ มจพ.
ดร.ยืนยง นิลสยาม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสรตร์ มจพ.
ผศ. ดร.ศิฬาณี นุขิตประสิทธิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจพ.

ณ ศูนย์สะเต็ม ชั้น 5 อาคาร 97
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กทม.


วันแรก

เวลากิจกรรม
08.30-09.00ลงทะเบียน และพิธีเปิด
09.00-10.15การบรรยายเทคโนโลยีและการทำงานของเครื่องพิมพ์สามมิติและการออกแบบโมเดลสามมิติด้วยสมการคณิตศาสตร์
10.15-10.30พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
10.30-12.00การบรรยายการสร้างนวัตกรรมสามมิติจากเครื่องพิมพ์สามมิติ
12.00-13.00พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30การฝึกปฏิบัติการออกแบบโมเดลสามมิติสำหรับนวัตกรรมสามมิติ
14.30-14.45พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
14.45-16.00การฝึกปฏิบัติการออกแบบโมเดลสามมิติสำหรับนวัตกรรมสามมิติ (ต่อ)

วันที่สอง

เวลากิจกรรม
08.30-09.00ลงทะเบียน
09.00-10.15การบรรยายวิทยาการคำนวน
10.15-10.30พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
10.30-12.00การบรรยายการเขียนคำสั่งด้วยโปรแกรมภาษาบล็อก
12.00-13.00พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30การฝึกปฏิบัติการการเขียนคำสั่งด้วยโปรแกรมภาษาบล็อก
14.30-14.45พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
14.45-16.00การฝึกปฏิบัติการการเขียนคำสั่งด้วยโปรแกรมภาษาบล็อกตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย

วันที่สาม

เวลากิจกรรม
08.30-09.00ลงทะเบียน
09.00-10.15การบบรยายการเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์บนอิเล็กทรอนิกส์บอร์ด
10.15-10.30พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
10.30-12.00การฝึกปฏิบัติการการเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์บนอิเล็กทรอนิกส์บอร์ด
12.00-13.00พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30การบบรยายการเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์บนอิเล็กทรอนิกส์บอร์ด
14.30-14.45พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
14.45-16.00การฝึกปฏิบัติการการเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์บนอิเล็กทรอนิกส์บอร์ดตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย

วันที่สี่

เวลากิจกรรม
08.30-09.00ลงทะเบียน
09.00-10.15อธิบายโจทย์การแข่งขัน แต่ละทีมวางแผนและออกแบบตามที่โจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
10.15-10.30พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
10.30-12.00แต่ละทีมทดสอบ และพัฒนาปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์
12.00-13.00พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30แต่ละทีมทดสอบ และพัฒนาปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์
14.30-14.45พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
14.45-16.00แต่ละทีมทดสอบ และพัฒนาปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์

วันที่ห้า

เวลากิจกรรม
08.30-09.00ลงทะเบียน
09.00-09.30อธิบายกติกาการแข่งขัน และให้โจทย์การแข่งขัน
09.30-10.15ประกวดผลงานนวัตกรรมสามมิติสะเต็มศึกษา รอบที่ 1
10.15-10.30พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
10.30-12.00แต่ละทีมทดสอบ และพัฒนาปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์
12.00-13.00พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30ประกวดผลงานนวัตกรรมสามมิติสะเต็มศึกษา รอบที่ 2
14.30-14.45พักรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
14.45-16.00ประกวดผลงานนวัตกรรมสามมิติสะเต็มศึกษา รอบที่ชิงชนะเลิศ
16.00-16.30พิธีปิดและมอบวุฒิบัตร

Part 1 การอบรม: วันที่ 22 - 24 พฤษภาคม 2566

1   นายกันตินันท์ จุลโพธิ์ทอง วุฒิบัตร
2   นายกิตติภูมิ ลออจันทร์ วุฒิบัตร
3   นายชยพล ฤทธิ์เทพ วุฒิบัตร
4   นายทัตเทพ สุวรรณขำ วุฒิบัตร
5   นายธรรศ ลาภธนภัทร วุฒิบัตร
6   นายนวพล คำวัจนัง วุฒิบัตร
7   นายศุภวิชญ์ อยู่ยั่งยืน วุฒิบัตร
8   นายปรมะ เอกะวิภาต วุฒิบัตร
9   นายภูรี แสงสงวน วุฒิบัตร
10   นายวันเอก โพธิ์ถาวร วุฒิบัตร
11   นายวีรภัทร มีเนตรขำ วุฒิบัตร
12   นางสาวสถิรมน ฉัตรทอง วุฒิบัตร
13   นายสิริราช เหมะรัต วุฒิบัตร
14   นายณัฐพัชร์ พัฒนกัญจน์ วุฒิบัตร